Loading....

Category: บทความ

ระบบเสากันขโมย EAS คืออะไร ช่วยป้องกันสินค้าสูญหายในห้างร้านค้าได้อย่างไร?

หลายๆ ท่านคงเคยเข้าไปใช้บริการตามร้านค้า ร้านสะดวกซื้อ หรือร้านขายสินค้าต่างๆ ตามห้างสรรพสินค้า แล้วมีเสากันขโมยตั้งอยู่บริเวณทางเข้าหน้าร้าน บางครั้งเดินเข้าใกล้ก็อาจมีเสียงร้องเตือนจนทำเราตกใจได้ รวมถึงสินค้าบางรายการก็ป้ายบาร์โค้ดแปลกๆ หรือมีอุปกรณ์พลาสติกล็อกไว้ ไม่สามารถถอดเองได้ ต้องเรียกพนักงานมาถอด หรือให้บริเวณเคาท์เตอร์ถอดให้ ซึ่งทั้งตัวเสากันขโมยและอุปกรณ์ที่กล่าวมานั้นในแต่ละที่ก็มีลักษณะทั้งคล้ายกันและมีที่แตกต่างกันหลากหลายรูปแบบ เคยสงสัยกันไหมว่า เสากันขโมยและอุปกรณ์เหล่านั้นทำงานอย่างไร และสามารถช่วยป้องกันสินค้าสูญหายได้อย่างไร บทความนี้เรามีคำตอบ

 

เสากันขโมยในห้างร้านค้าส่วนใหญ่ จะเป็นเสากันขโมยระบบ EAS หรือ ELECTRONIC ARTICLE SURVEILLANCE เป็นระบบเทคโนโลยี tagging ที่ใช้คลื่นวิทยุหรือ radio frequencies นั่นเอง โดยการทำงาน จะเป็นในรูปแบบของการติดอุปกรณ์ที่เรียกว่า TAG ไว้ที่ตัวสินค้า หรือสิ่งของที่ต้องการป้องกันการสูญหาย เมื่อสินค้าหรือสิ่งของนี้ ต้องถูกชำระเงินหรือต้องนำออกจากห้างร้านค้า จะต้องทำการ Deactivated หรือล้างสัญญาณออกก่อน เพื่อทำให้สามารถผ่านเสากันขโมยออกไปได้ หากสินค้าเหล่านั้นยังไม่ทำการล้างสัญญาณ เมื่อผ่านเสากันขโมยออกไปจึงเกิดเสียงแจ้งเตือน เพื่อเตือนภัยให้แก่เจ้าหน้าที่หรือเจ้าของสถานที่นั้นๆ นั่นเอง

 

ในการติดตั้งเสากันขโมยระบบ EAS นั้น โดยทั่วไปจะมีอุปกรณ์หลัก ๆ อยู่ดังนี้คือ

  1. เสากันขโมย หรือเสาสัญญาณกันขโมย (Antenna)
  2. ป้ายหรืออุปกรณ์สำหรับติดสินค้า (TAG)
  3. เครื่องล้างสัญญาณ Tag หรืออุปกรณ์ถอด Tag (Deactivator หรือ Detacher)

 

เสากันขโมย หรือเสาสัญญาณกันขโมย (Antenna)

เสาสัญญาณเป็นอุปกรณ์ที่น่าจะเห็นได้บ่อยและง่ายที่สุด ตามห้างร้านค้าทั่วไป มีลักษณ์เป็นเสาหนาๆ คล้ายแผง มักตั้งอยู่บริเวณทางเข้าออกของห้างร้านค้าที่มีการติดตั้ง โดยตัวเสากันขโมยจะมีหน้าที่ในการตรวจจับสัญญาณที่ผิดปกติไป ซึ่งตัว Tag คือตัวที่เสากันขโมยจะทำการตรวจจับนั่นเอง ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลที่เสากันขโมยจะส่งสัญญาณร้องเตือน เมื่อสิ่งของที่มีป้าย Tag ผ่านออกไป เสากันขโมยที่ใช้กันโดยทั่วไปจะมี 3 ชนิด ก็คือ เสา RF, AM และ EM โดยแต่ละชนิดแตกต่างกันดังนี้

 

เสากันขโมยระบบ RF (Radio Frequency systems) เป็นระบบเสากันขโมยที่ใช้ค่อนข้างแพร่หลาย เนื่องจากราคาค่อนข้างถูกกว่าประเภทอื่นๆ แต่มีข้อจำกัดคือไม่เหมาะกับสิ่งของที่มีส่วนผสมของ metalize เช่น บรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีฟลอยด์เป็นส่วนประกอบ เป็นต้น

 

เสากันขโมยระบบ AM (Acousto-magnetic systems) เป็นระบบเสากันขโมยที่ค่อนข้างได้รับความนิยมเช่นกัน ราคาอยู่ในระดับกลาง โดยจะมีราคาสูงกว่าเสากันขโมยระบบ RF และถูกกว่าเสากันขโมยระบบ EM นั่นเอง โดยเสานกันขโมยระบบ AM ถูกพัฒนาเพื่อให้สามารถใช้กับสิ่งของที่มี metalize เป็นส่วนประกอบได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับเสากันขโมยระบบ RF

 

เสากันขโมยระบบ EM (Electro-magnetic systems) เป็นระบบเสากันขโมยที่จะใช้การเหนี่ยวนำของแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งจะค่อนข้างแม่นยำและปลอดภัยกว่าเสากันขโมยระบบอื่น ทั้งนี้การใช้งานอาจมีขั้นตอนที่ซับซ้อนกว่าระบบอื่นเล็กน้อย และเสากันขโมย EM มีราคาค่อนข้างสูงกว่าระบบอื่นๆ ด้วยเช่นกัน เหมาะกับสิ่งของ หรือสินค้าที่ต้องการใช้ในระยะยาวและต้องการความแม่นยำสูง

 

ป้ายหรืออุปกรณ์สำหรับติดสินค้า (TAG)

 

แท็ก (Tag) จะมี 2 แบบ คือ Hard Tag และ Soft Tag โดยทั้ง 2 จะมีความแตกต่างกันคือ

Hard Tag – จะมีลักษณะเป็นแท็กแข็ง มีหลายรูปแบบ ส่วนใหญ่จะเห็นในรูปแบบที่ทำจากพลาสติกหรือโลหะ หากนึกไม่ออกลองนึกถึงสินค้าในห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ในกลุ่มสินค้าพวกเสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า ที่มักมีอุปกรณ์พลาสติกล็อกติดกับสินค้าไว้ และต้องให้พนักงานที่เคาท์เตอร์เป็นคนนำออกให้นั่นเอง

Soft Tag – จะมีลักษณะเป็นเหมือนป้ายบาร์โค้ด ซึ่งมีหลายแบบเช่นกัน รูปแบบที่เห็นได้บ่อย ๆ เช่น ป้ายบาร์โค้ดนูนๆ เล็กๆ ป้ายบาร์โค้ดสี่เหลียมใหญ่ๆ หรือป้ายที่มีลักษณะคล้ายรูปสี่เหลี่ยมซ้อนกันหลายๆชั้น ในบ้านเรามักจะเห็นป้ายแท็กชนิดนี้ถูกติดตามสินค้าพวกกลุ่มครีม เครื่องสำอางค์ เป็นต้น

 

เครื่องล้างสัญญาณ Tag หรืออุปกรณ์ถอด Tag (Deactivator หรือ Detacher)

เครื่องล้างสัญญาณ หรือเครื่องถอดสัญญาณ Tag จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำลายสัญญาณของ Tag เพื่อให้สามารถผ่านเสากันขโมยไปได้นั่นเอง ซึ่ง Tag แต่ละประเภทแต่ละชนิดก็จะใช้อุปกรณ์ในการทำลายสัญญาณที่อาจจะต่างกันออกไป หากเราสังเกตในบ้านเรามักจะเห็นอุปกรณ์เหล่านี้ตามเคาท์เตอร์ชำระเงินในห้างร้านค้า อย่างที่น่าจะเห็นได้บ่อยๆ เช่น เครื่องถอด hard tag ที่ติดตามเสื้อผ้า เป็นต้น


ระบบเสากันขโมยนั้น ถือเป็นอุปกรณ์สำคัญที่จะช่วยให้ร้านค้า ห้างร้าน หรือธุรกิจต่าง ๆ ลดความเสี่ยงในการเกิดของหาย สินค้าสูญหายได้ รวมไปถึงเตรียมพร้อมรับมือเพื่อป้องกันการโจรกรรมที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่ทันตั้งตัวได้อีกด้วย เพื่อแลกกับความสบายใจที่เพิ่มขึ้น การตัดสินใจติดตั้งเสากันขโมยนั้นจึงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

ระบบเสากันขโมยคืออะไร แต่ละประเภทต่างกันอย่างไร

ปัจจุบันในธุรกิจที่ต้องมีหน้าร้านค้า ตามห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ หรือตามแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ อาจะมีในหลาย ๆ ที่ที่ยังประสบปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการลักขโมยจากพวกมิจฉาชีพ ซึ่งมีอาจมีหลากหลายวิธีในการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น โดยเสากันขโมยนั้น เป็นวิธีการนึงที่ใช้ในการป้องกันการขโมยสินค้าได้ค่อนข้างดี โดย หลายคนอาจจะเคยเห็น เสากันขโมยที่อยู่ตามทางเข้าของร้านค้าในห้างต่าง ๆ เช่น ร้านเสื้อผ้า, ร้านขายอุปกรณ์ต่างๆ, ร้านเครื่องสำอางค์ รวมไปถึงร้านอาหารหรือร้านค้าอื่น ๆ กันอย่างมากมาย จึงเห็นได้ว่า เสากันขโมยนั้นเป็นเหมือนอุปกรณ์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายกันนั่นเอง

เสากันขโมยนั้นอาจมีหลากหลายรูปแบบให้เลือก ขึ้นอยู่กับสินค้า สถานที่ หรือความต้องการในการนำไปใช้งาน เช่น บางชนิดเป็นระบบป้ายแท็ก บางชนิดอาจเป็นระบบ barcode เรามาดูกันว่า สัญญาณมีรูปแบบไหนบ้าง แต่ละแบบทำงานอย่างไร และมีความเหมาะกับสินค้าหรือธุรกิจรูปแบบไหน

 

เสากันขโมย RF (Radio Frequency), AM (Acoustic Magnetic), และ EM (Electromagnetic) เป็นระบบที่ใช้ในการป้องกันการขโมยและความปลอดภัยในร้านค้าหรือบริเวณที่ต้องการความปลอดภัยสูง แต่แต่ละระบบมีความต่างกันอย่างมีนัยสำคัญดังนี้:

 

RF (Radio Frequency): ระบบ RF เป็นระบบที่ใช้คลื่นวิทยุในการทำงาน โดยมีเสากันขโมยที่ติดตั้งอยู่ที่ประตูหรือทางเข้าและทางออกของร้านค้า ระบบจะมีแท็ก (tag) หรือสติ๊กเกอร์ที่สินค้าที่ต้องการป้องกันติดอยู่ และมีเครื่องรับสัญญาณ RF ที่ติดตั้งอยู่ที่เสากันขโมย เมื่อมีสินค้าที่มีแท็กผ่านเสากันขโมย ระบบจะส่งสัญญาณเตือนเพื่อแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่ว่ามีการขโมยเกิดขึ้น

 

สถานที่ค้าขายหรือร้านค้า: ระบบ RF เหมาะสำหรับร้านค้าที่มีของมากมายและคนเดินชมสินค้ามาก เพราะสามารถตรวจจับการขโมยได้โดยรวดเร็ว และไม่ต้องมีการติดแท็กที่สินค้าอย่างใกล้ชิด.

ร้านค้าขนาดใหญ่: ระบบ RF ทำงานได้ดีในพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น ห้างสรรพสินค้าหรือโรงหนัง โดยไม่ต้องมีจำนวนมากของเสากันขโมย.

 

AM (Acoustic Magnetic): ระบบ AM ใช้หลักการทางเสียงและแม่เหล็กในการทำงาน ประกอบด้วยเสากันขโมยและแท็ก (tag) ที่แม่เหล็กซึ่งมีค่าความถูกต้องมากกว่าระบบ RF ระบบจะทำงานโดยเมื่อสินค้าที่มีแท็กผ่านเสากันขโมย แท็กจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในสนามแม่เหล็ก ทำให้ระบบส่งสัญญาณเตือนเพื่อแจ้งเตือนการขโมย

ร้านค้าที่มีของมีค่าและมีความประสิทธิภาพสูง: ระบบ AM มักใช้ในร้านค้าที่ขายของมีค่าและมีความสำคัญ เนื่องจากมีความถูกต้องมากกว่าระบบ RF และ EM.

ร้านค้าที่มีพื้นที่จำกัด: เนื่องจากระบบ AM มีระยะการทำงานน้อยกว่า RF และ EM จึงเหมาะสำหรับร้านค้าที่มีพื้นที่จำกัดและไม่ต้องการเสากันขโมยหลายตัว.

 

EM (Electromagnetic): ระบบ EM ใช้หลักการทางไฟฟ้าแม่เหล็กในการทำงาน ประกอบด้วยเสากันขโมยและแท็ก (tag) ที่เป็นแม่เหล็ก เมื่อแท็กผ่านเสากันขโมย ระบบจะสร้างสนามไฟฟ้าที่มีความแรงเพียงพอที่จะเกิดกระแสไฟฟ้าในแท็ก เมื่อกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้น ระบบจะส่งสัญญาณเตือนให้เจ้าหน้าที่ร้านค้ารู้ว่ามีการขโมยเกิดขึ้น

ร้านค้าที่มีของมีค่าและมีความประสิทธิภาพสูง: เหมาะสำหรับร้านค้าที่ขายของมีค่าและมีความสำคัญ เนื่องจากมีความถูกต้องมากกว่าระบบ RF.

ร้านค้าที่ต้องการระยะการทำงานยาว: ระบบ EM มีระยะการทำงานที่ยาวกว่า RF และ AM จึงเหมาะสำหรับร้านค้าที่มีพื้นที่ใหญ่.


หลักจากที่กล่าวมาข้างต้น ยังต้องพิจารณางบประมาณด้วย ระบบ RF มักมีราคาต่ำกว่าระบบ AM และ EM แต่ระบบ AM และ EM มักมีประสิทธิภาพการตรวจจับที่ดีกว่า ดังนั้นควรพิจารณาลักษณะและความต้องการของร้านค้าหรือสถานที่ของคุณเพื่อเลือกระบบเสากันขโมยที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการใช้งานของคุณ

 

สรุปแล้ว เสากันขโมยระบบ RF ใช้คลื่นวิทยุในการทำงาน ระบบ AM ใช้หลักการทางเสียงและแม่เหล็ก และระบบ EM ใช้หลักการทางไฟฟ้าแม่เหล็ก การเลือกระบบที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับความต้องการและงบประมาณของสถานประกอบการ ทั้งสามระบบมีประสิทธิภาพในการป้องกันการขโมย แต่แต่ละระบบมีความเหมาะสมกับสถานการณ์และการใช้งานที่แตกต่างกันไป

Back To Top